เมนู

พอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ วิญญาณ
ก็หยั่งลง เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[221] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไป
ข้าง ๆ ฯ ล ฯ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจ
เนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ วิญญาณก็หยั่งลง
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ฯ ล ฯ ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[222] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ใน
ธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ วิญญาณก็ไม่หยั่งลง เพราะ
วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
มีด้วยประการอย่างนี้.
[223] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่อย่างนั้น
ทีนั้นภิกษุเอาจอบและภาชนะมา ฯ ล ฯ ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย
แห่งสังโยชน์อยู่ วิญญาณก็ไม่หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะวิญญาณ
ดับ นามรูปจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้.
จบวิญญาณสูตรที่ 9

อรรถกถาวิญญาณสูตรที่ 9



สูตรที่ 9 มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาวิญญาณสูตรที่ 9

10. นิทานสูตร



ว่าด้วยความพอใจในปฏิจจสมุปบาท



[224] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของหมู่
ชนชาวเมืองกุรุ อันมีชื่อว่ากัมมาสทัมมะ1 แคว้นกุรุรัฐ ครั้งนั้นแล
ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านนั่งเรียบ
ร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า
ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า คือปฏิจจสมุปบทนี้เป็นธรรมลึกซึ้งเพียงไร
ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ปรากฏเหมือนธรรมง่าย ๆ แก่
ข้าพระองค์.
[ 225] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่า
กล่าวอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็น
ธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ ไม่แทง
ตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือหกลุ่มเส้น
ด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้น
อบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร.
[226] ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ใน
ธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ

1. บางแห่งเป็น กัมมาสธัมมะ